วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการออกแบบ

สีแต่ละสีจะมีความหมายเป็นลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งจะให้ความรู้สึกทั้งในด้านที่ดี หรือ
ไม่ดีไปตามลักษณะของแต่ละสี ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง
จุดสำคัญของทฤษฎีสีคือ      สีเป็นคุณสมบัติของแสง ไม่ใช่ตัวของมันเอง คุณสมบัติของแสงนี้ เซอร์ ไอแซค นิวตัน
          เป็นผู้ค้นพบในศตวรรษที่ 17 เมื่อเขาให้แสงสีขาวส่องผ่านแท่งแก้วปริซึม แยกแสงสีขาว
          ออกเป็นสีรุ้ง 7 สีและได้แตกตัวออกเป็นสีในวงจรสี (Color Wheel) มีอยู่ 12 สี วัตถุไม่มี
          สีแท้ในตัวมันเอง แต่มีความสามารถจะสะท้อนแสงซึ่งมีสีอยู่ในนั้น วัตถุสีน้ำเงินดูดซึมแสง
         ได้ทั้งหมด ยกเว้นสีน้ำเงินด้วยกัน วัตถุสีดำดูดซึมแสงได้ทั้งหมด แต่วัตถุสีขาวสะท้อนแสง
          ทั้งหมด ความสำคัญของสีสำหรับศิลปินอยู่ที่ว่าเมื่อแสงเปลี่ยนไป สีก็จะเปลี่ยนไป สีก็จะ
          เปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้นจึงไม่มีสีแท้สำหรับวัตถุโดยเฉพาะ
การปรากฏของสีที่ผิวของวัตถุ
         ในธรรมชาติ สีแสงจะมีหลายสีประกอบกันอยู่เป็นแสงสีใส เมื่อแสงกระทบวัตถุที่มีสีวัตถุนั้น
         จะดูดสีทั้งหมดของแสงไว้ แล้วสะท้อนเฉพาะสีที่เหมือนกับวัตถุนั้นออกมา เราจึงเห็นสีของ
         วัตถุนั้น ตัวอย่างเช่น แสงส่องมาถูกรถสีเหลือง สีเหลืองของรถจะรับกับสีเหลืองในแสง แล้ว
         สะท้อนสีเหลืองนั้นเข้าสู่ตาของเรา วัตถุสีขาวจะสะท้อนสีออกมาทุกสี แต่วัตถุสีดำ ไม่สะท้อน
         สีเหลืองนั้นเข้าสู่ตาของเรา วัตถุสีขาวจะสะท้อนสีออกมาทุกสี แต่วัตถุสีดำไม่สะท้อนสีใดเลย
ชนิดของสี
                 สีมี 2 ชนิด คือ
1. สีที่เป็นแสง (Spectrum) แม่สีจากแสงสว่าง (Spectum Primaries ประกอบด้วย 3 สี คือ
                  1. สีแดงส้ม (Vermillion)
                  2. สีเขียว (Emerald)
                  3. สีม่วง (Violet)
      เมื่อนำแม่สีแสงสว่าง 3 สีมาผสมเข้าด้วยกัน (ใช้สีแสง) จะปรากฏเป็นสีกลาง คือ ไม่แสดง
      สีใดที่เด่นออกมา(สีใส)
สีแสงขั้นที่หนึ่งจากวงจรสีแสง
          1. แดงส้ม (Vermillion)
          2. เขียว (Emerald)
          3. ม่วง (Violet)
สีแสงขั้นที่สอง
          1. แดง(Vermillion) + เขียว(Emerald) = เหลือง (Yellow)
          2. เขียว(Emerald) + ม่วง (Violet) = น้ำเงิน (Blue)
          3. ม่วง(Violet) + แดงส้ม(Vermillion) = แดง (Red)
              และ ถ้านำแม่สีแสงที่ 3 มารวมกัน(ใช้สีแสง)
              แดง(Vermillion) + เขียว(Emerald) + ม่วง (Violet) = สีใส (Light) 
2.สีที่เป็นวัตถุ
         สีที่เป็นวัตถุ (Pigment) คือสีที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ฯลฯ สีที่เป็นวัตถุ
         ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
2.1 เนื้อสี (Pigment)
         ได้มาจากวัตถุที่มีรงค์สีจากธรรมชาติ(Raw Material) และจากการสังเคราะห์ด้วย
         กรรมวิธีทางเคมี(Chemical Process) ซึ่งปัจจุบันเราใช้สีที่ผลิตจากโรงงานที่ผลิต
         และผสมด้วยกรรมวิธีทางเคมีมาเรียบร้อยแล้ว
2.2 ตัวผสมสี (Binder)
         คือ ของเหลวที่มีคุณสมบัติทางเคมีในการช่วยยึดโมเลกุลของเนื้อสีเข้าด้วยกัน และ
         ช่วยในการผสมสีให้มีความเข้มข้นตามที่เราต้องการ ได้แก่ น้ำใช้ผสมสีน้ำ สีพลาสติก
         สีอะคลิลิค สีโปรเตอร์ และสีฝุ่น เป็นต้น น้ำมันสน ทินเนอร์ น้ำมันปอปปี้ แอลกอฮอล์
         น้ำมันลินซีด(Linseed) ใช้ผสมกับสีที่มีส่วนผสมของน้ำมันซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
         กับประเภทของสีตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
 พอสรุปได้ว่า สีทุกประเภทที่ใช้กับวงการศิลปะ จะต้องมีส่วนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
                  เนื้อสี(Pigment) + ตัวผสมสี (Bender)
การแบ่งประเภทของสีที่เป็นวัตถุ 
1. แบ่งตามลักษณะของตัวผสมสี แบ่งออกเป็น
          1.1 สีที่ผสมน้ำ (Water Based Color) คือสีที่มีส่วนผสมกับน้ำเป็นหลัก ได้แก่ สีน้ำ
               สีพลาสติก สีโปรเตอร์ สีฝุ่น สีอะคลิลิค เป็นต้น
          1.2 สีที่มีส่วนผสมของน้ำมันเป็นหลัก (Oil Based Color) ได้แก่ สีน้ำมัน สีพิมพ์ เป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะของเทคนิคที่ใช้
          2.1 สีที่ใช้ระบาย (Painted Color) คือสีที่ใช้เทคนิคการทาระบาย ได้แก่ สีน้ำ สีน้ำมัน
               สีอะคลิลิค สีพลาสติก สีผุ่น สีดินสอ สีเมจิก
          2.2 สีที่ใช้พิมพ์ (Printing Color) คือ สีที่ใช้ในการพิมพ์ เช่น สีพิมพ์แกะไม้ (Woodcut Ink)
               สีพิมพ์สกีน สีพิมพ์โลหะ สีพิมพ์สติกเกอร์ สีพิมพ์ร่องลึก สีพิมพ์ระบบออฟเซท
          2.3 สีที่ใช้พ่น (Spray Color) คือสีที่ใช้เครื่องพ่นสี อาจเป็นกระป๋อง หรือปากกา(Airbrush)
               ได้แก่ สีพ่นสีหมึก สีอะคลิลิค สีน้ำมันสำหรับพ่น เป็นต้น
          2.4 สีที่ใช้ย้อม (Dye Color) คือสีที่ใช้ย้อมสิ่งของต่างๆ เช่นสีย้อมผ้า(Fabric Dye Color)
               สีย้อมหนัง (Leather Dye) เป็นต้น

3. แบ่งตามลักษณะที่แสงผ่าน
          3.1 สีโปร่งแสง (Transparent Color) คือ เนื้อสีที่มีความบางใน เนื้อสีละเอียดสามารถ
               ระบายทับกันได้ โดยยังเห็นสีชั้นล่างที่ลงไปก่อน ได้แก่ สีน้ำ สีอะคลิลิค สีย้อม สีหมึก
          3.2 สีทึบแสง (Opaque Color) คือ สีที่มีเนื้อสีเข้มข้น ระบายแล้วมีความหนา แสงผ่าน
               ไม่ได้ สามารถระบายทับกันได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นสีชั้นล่างที่ลงไปก่อน ได้แก่
               สีโปรเตอร์ สีน้ำมัน สีเทียบ สีชอล์ค เป็นต้น
ทฤษฏีสี (Theory of Color)
สีมีลักษณะ 3 มิติ ประกอบด้วย
1. ความเป็นสีแท้ (Hue)
หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีทุกสี ที่ไม่มีสีขาวหรือสีดำเข้าไปผสม ความเป็นสีแท้(Hue) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 แม่สี (Primary Colors) 
หมายถึง สีที่เป็นพื้นฐานของสีอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นจากการผสมของสีใดๆให้เกิดเป็นแม่สี มีคุณลักษณะ
ของความเป็นสีแท้สูงที่สุด มี 3 สี คือ
                 1. สีแดง    (Red : Crimson Lake)
                 2. สีเหลือง (Yellow : Gamboge)
                 3. สีน้ำเงิน (Blue : Prussion Blue)
1.2 สีขั้นที่สอง (Secondary Colors)
หมายถึง สีที่เกิดจากการผสมกันทีละคู่ของแม่สีมี 3 สี คือ
                   1. สีส้ม(Orange)    = สีแดง (Red)       + สีเหลือง (Yellow)
                   2. สีเขียว(Green)   = สีเหลือง (Yellow) + สีน้ำเงิน(Blue)
                   3. สีม่วง(Violet)     = สีแดง(Red)        + สีน้ำเงิน(Blue)
1.3 สีขั้นที่สาม (Tertiary Colors) 
หมายถึง สีที่เกิดจากการผสมกันทีละคู่ของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 มี 6 สี คือ
                    1. สีเขียวเหลือง      = สีเหลือง   +     สีเขียว
                    2. สีเขียวน้ำเงิน      = สีน้ำเงิน   +     สีเขียว
                    3. สีม่วงน้ำเงิน       = สีน้ำเงิน   +     สีม่วง
                    4. สีม่วงแดง          = สีแดง      +    สีม่วง
                    5. สีส้มแดง           = สีแดง      +    สีสัม
                    6. สีส้มเหลือง        = สีเหลือง    +    สีส้ม
 องค์ประกอบในการออกแบบ ( DESIGN ELEMENTS)
  สี (Color)
  ความเด่นของสี (Intensity)
คือ          สภาวะความเด่นของสีแท้ข่มสีแวดล้อมอื่นๆ ที่จะปรากฏเด่นออกมานั้น จะต้อง
              เป็นสีสดที่ แวดล้อมด้วยสีหม่น ลองสังเกตจากปรากฏการณ์ในธรรมชาติในยาม
              เย็น ท้องฟ้าสลัวๆ สีส่วน ใหญ่ในบรรยากาศจะเป็นสีเทา-ดำ แต่เมื่อปรากฏแสง
              อาทิย์ ยามอัสดงสาดส่องมาบนก้อนเมฆ เป็นสีเหลือง ส้ม สีเหล่านี้จะเด่นงามขึ้น
              และเมื่อบรรยากาศยิ่งมืดมัวลงมากขึ้น สีเหลือง ส้ม นี้จะ เด่นงามขึ้นและเมื่อ
              บรรยากาศยิ่งมืดมัวลงมากขึ้น สีเหลือง ส้ม นี้จะยิ่งดูสดใสขึ้น
การลดความสดใสของสีแท้ 
สามารถจำแนกได้ 3 วิธีคือ
         1. ผสมสีแท้ด้วยสีขาว เรียกว่า Tint เพื่อลดความเข้มของสีแท้ โดยให้น้ำหนักของ
            สีออกไปทางสีขาว
         2. ผสมสีแท้ด้วยสีดำ เรียกว่า Shade เพื่อลดความเข้มของสีแท้โดยให้น้ำหนักของสีเพิ่ม
            ความเข้มไปทางสีคล้ำหรือดำ
         3. ผสมสีแท้ด้วยสีกลาง เรียกว่า Neutral เพื่อลดความเข้มของสีแท้โดยให้น้ำหนักของ
            สีไปทางสีกลาง
น้ำหนักอ่อนแก่ของสี (Value of Color)
          น้ำหนักอ่อนแก่ของสี หมายถึงระดับของน้ำหนักของสีอ่อนเปลี่ยนแปลงไปจนถึงสีเข้ม         
          น้ำหนัก อ่อนแก่ของสี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำหนักอ่อนแก่ของสีหลายสี (Value of Diffent Colors)
หมายถึง น้ำหนักของสีเรียงจากน้ำหนักอ่อนที่สุดไปจนถึงเข้มสุดในวงจรสี
สีเหลือง                             อ่อนสุด
         สีส้มเหลือง - เขียวเหลือง        Fore Ground
         สีส้ม - เขียว                        Fore Ground
ส้มแดง - เขียวน้ำเงิน                  ปานกลาง            Middle Ground
สีแดง - น้ำเงิน                               Back Ground
สีม่วงแดง-ม่วงน้ำเงิน                       Back Ground
         สีม่วง                        เข้มสุด
การใช้น้ำหนักอ่อนแก่ของสีหลายสี 
น้ำหนักอ่อนแก่ของสีหลายสี ให้ความรู้สึกของทัศนียภาพของสี (Perspective of Color)
สามารถแสดงถึงความตื้น ลึก ใกล้ ไกล โด้โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
         1. ระยะใกล้ (Fore Ground)
         2. ระยะกลาง (Middle Ground)
         3. ระยะไกล (Back Ground)
2. น้ำหนักอ่อนแก่ของสี สีเดียว (Value of Single Color)
หมายถึง น้ำหนักของสีเรียงจากน้ำหนักอ่อนสุด ไปจนถึงเข้มสุดโดยนำสีแท้สีเดียวมา
            ทำให้เกิด น้ำหนักอ่อนแก่ ทำได้โดย
        2.1 สีจางอ่อนลงด้วยการนำสีแท้ + สีขาว              เรียกว่า Tint
        2.2 สีเข้มขึ้นด้วยการนำสีแท้     + สีดำ                เรียกว่า Shade
        2.3 สีเข้มขึ้นด้วยการนำสีแท้     + สีเทา               เรียกว่า Neutral
        2.4 สีจางลงด้วยการนำสีแท้     + น้ำ
        2.5 สีเข้มขึ้นด้วยการนำสีแท้     + สีตรงข้าง          เรียกว่า Break
  สี (Color)
การจัดโครงสี (Color Schemes)
1. สีเอกรงค์ (Monochrome)
หมายถึง การใช้สีเพียงสีเดียว ที่มีความแตกต่างของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีนั้นจากระดับ
อ่อนสุด (Lightness) ไปจนถึงความเข้มสุด โดยใช้วิธีของ Tint, Neutral และ Shade2. สีพหุรงค์ (Polychromatic)
หมายถึง การใช้สีหลายๆสี ประกอบเป็นโครงสี ได้แก่
2.1 สีที่อยู่ในตะกูลเดียวกัน(Color Family)
     หมายถึง สีที่มีส่วนผสมของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นหลักแบ่ง ออกเป็น 3 ตะกูลคือ
2.1.1 ตะกูลสีเหลือง (Yellow Family) ประกอบด้วย เหลือง-ส้มเหลือง-ส้ม-ม่วงแดง-เขียว-เขียวเหลือง2.1.2 ตะกูลสีแดง (Red Family) ประกอบด้วย แดง-ส้มแดง-ส้ม-ม่วงแดง-ส้มเหลือง-ม่วง-ม่วงน้ำเงิน2.1.3 ตะกูลสีน้ำเงิน (Blue Family) ประกอบด้วย น้ำเงิน-ม่วงน้ำเงิน-ส้มเหลือง-ม่วงแดง-
        เขียวน้ำเงิน-เขียว-เขียวเหลือง 2.2 สีที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน (Tone)  
      หมายถึง กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึก แตกต่างกันในวงจรสี ได้แก่2.2.1 สีวรรณร้อน (Warm Tone) 
               หมายถึง สีใดๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีแดงและรวมทั้งสีเหลืองด้วย              
               ให้ความรู้สึกตื่น เต้น รุนแรง ฉูดฉาด เป็นสีที่มีความสดใส และร้อนแรง
               มีสี 7 สี คือ เหลือง-ส้มเหลือง- ส้ม-ส้มแดง-ม่วง-แดง-ม่วงแดง2.2.2 สีวรรณะเย็น (Cool Tone)
               หมายถึง สีใดๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีน้ำมันและรวมทั้งสีเหลืองด้วย ให้ความ
                รู้สึกเยือกเย็น สงบ ชุ่มชื่น สบายตา เฉื่อยชา มี 7 สี คือ เหลือง-เขียวเหลือง-เขียว-
                เขียวน้ำเงิน-น้ำเงิน-ม่วงน้ำเงิน-ม่วง สำหรับสีเหลืองและสีม่วง อนุโลมให้อยู่ได้ทั้ง
                สองวรรณะ2.3 สีตรงข้าม หรือสีคู่ (Complementary Colors)
               หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่คือ
               1. เหลือง (Yellow)                   กับ          ม่วง(Violet)
               2. แดง (Red)                         กับ          เขียว(Green)
               3. น้ำเงิน (Blue)                      กับ          ส้ม(Orange)
               4. ส้มเหลือง(Yellow-Orange)     กับ          ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green)
               5. ส้มแดง (Red-Orange)          กับ          เขียวน้ำเงิน (Blue-Green)
               6. เขียวเหลือง (Yellow-Green)   กับ          ม่วงแดง (Red-Violet) วิธีการใช้สีคู่ (Double Complementary) แบ่งออกได้เป็น 3 วิธีคือ 2.3.1 สีคู่ตรงข้ามที่ใกล้เคียงกัน (Double Complementary)
                 หมายถึง การใช้สีสองสีที่ติดกัน กับสีคู่ตรงกันข้ามของ สองสีนั้นในวงจรสีได้แก่
                 สีเหลืองกับสีส้มเหลือง   เป็นสีคู่        ตรงข้ามกับ        สีม่วง   กับม่วงน้ำเงิน
                 สีส้ม   กับ สีส้มแดง     เป็นสีคู่       ตรงข้ามกับ        สีน้ำเงิน กับเขียวน้ำเงิน
                 สีแดง  กับ สีม่วงแดง    เป็นสีคู่       ตรงข้ามกับ        สีเขียว  กับเขียวเหลือง
2.3.2 สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี (Split Complementary)
               หมายถึงการใช้สีหนึ่งกับสี สองสีที่อยู่ข้างสีคู่ตรงข้ามกันสองสี (โดยไม่ใช้สีคู่ตรงข้าม
               ของ สีนั้น) เป็นการใช้สีที่ลดการ ตัดกันหรือลดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
                สีเหลือง          ใช้กับ        สีม่วงแดง      -     สีม่วงน้ำเงิน (ไม่ใช้สีม่วง)
                สีแดง            ใช้กับ        สีเขียวเหลือง   -     สีเขียวน้ำเงิน (ไม่ใช่สีเขียว)
                สีน้ำเงิน         ใช้กับ        สีส้มแดง         -     สีส้มเหลือง (ไม่ใช้สีส้ม) 2.3.3 สีที่อยู่ห่างเป็นระยะเท่าๆ กัน 4 สี (Tetrad)
                หมายถึง การใช้สีที่ห่างเป็นระยะเท่าๆ กัน  4 สี ในวงจรสี นั้นคือการใช้สีคู่ตรงข้าม 2 ชุด
                นั้นเอง   การใช้สีเขียว-ส้มเหลือง-แดง-ม่วงน้ำเงิน- นั้นก็คือการใช้สีคู่ตรงข้าง 2 ชุด
                ได้แก่ สีเขียว- แดง, สีส้มเหลือง-ม่วงน้ำเงิน2.4 สี ที่อยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triad) 
             หมายถึง การใช้สีที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าใน วงจรสีเป็นการใช้สีไม่ตัดกัน
             รุนแรงนัก เช่น แดง - เหลือง - น้ำเงิน - ส้มแดง - เขียวเหลือง -ม่วงน้ำเงิน2.5 สภาพสีส่วนร่วม (Tonality)
            จะเห็นว่างานศิลปะแต่ละชิ้นล้วนมีอิทธิพลของสีใดสีหนึ่ง มีอำนาจครอบงำสีอื่นหมด           
            แม้ว่า จะมีสีอื่นเด่นชัดในบางส่วนก็ตาม สีครอบงำนี้เรียกว่า "สภาพสีส่วนรวม" ซึ่ง
            จะทำให้ภาพเกิด เอกภาพ สมบูรณ์น่าดูยิ่ง วิธีใช้สภาพสีส่วนรวม(Tonality) อาจแบ่ง
            ได้เป็น 2 อย่างคือ2.5.1 ใช้สภาพสีส่วนรวม
               โดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มไปทั้งภาพ ดังเช่น ทุ่งหญ้าหรือ สนามฟุตบอลซึ่งเต็มไป
                ด้วยสีเขียว เรียกว่า สภาพสีส่วนรวมเป็นสีเขียว ถึงแม้ว่าจะปรากฏ สีเสื้อของนักกีฬา
                ซึ่งฉูดฉาด แต่สีเหล่านี้ไม่สามารถมีอิทธิพลข่มสีเขียวซี่งเป็นสีส่วนใหญ2.5.2 ใช้สภาพสีส่วนรวม
                โดยผสมผสานกันด้วยสี เช่น ใช้สีแดง และสีเหลือง ระบายเป็นจุดๆสลับกันจนเต็มภาพ
                เมื่อดูรวมๆ จะพบว่าสภาพสีส่วนรวมจะเป็นสีส้ม ตัวอย่างเช่น เมื่อ วาดภาพพุ่มไม้อัน
                ประกอบด้วยดอกไม้สีเหลืองและสีแดง เมื่อดูรวมๆ จะเห็นว่าสภาพมี ส่วนรวมเป็นสีส้ม